ผลสืบเนื่อง ของ การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย สิงหาคม–กันยายน พ.ศ. 2564

ภายหลังจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจสิ้นสุดลง พรรคเพื่อไทยได้ตั้งคณะกรรมการจริยธรรมสอบสวนความผิด สส. พรรค จำนวน 7 คนที่ไม่เข้าร่วมประชุมและโหวตสวนมติพรรค โดยยืนยันว่าคำสั่งที่ประกาศไปเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เป็นการเอาจริง ไม่ได้ขู่เล่น ๆ ภายหลัง 1 ใน 7 คือ นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครนายก ได้ส่งหนังสือแจ้งว่าตนติดโรคโควิต-19 ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ และยังอยู่ในระหว่างการพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ส่วนที่เหลือทางพรรคได้รอให้ สส. ทำหนังสือเข้ามาแก้ต่าง[9] จนในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2564 พรรคเพื่อไทยได้แถลงถึงความคืบหน้าในการลงโทษ สส. ว่ามี สส. ทำหนังสือเข้ามาแล้ว 5 คน รวมนายวุฒิชัย เหลือเพียงสองคนคือ นางพรพิมล ธรรมสาร สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ปทุมธานี และนายศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร อุตรดิตถ์[10] ซึ่งต่อมาคณะกรรมการจริยธรรมพรรคเพื่อไทยได้มีมติลงโทษ สส. ทั้ง 7 คน คือขับทั้งพรพิมล และศรัณย์วุฒิ ออกจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2564 ส่วนที่เหลือ 3 คนให้ติดสถานะภาคฑัณฑ์และใช้เป็นเงื่อนไขการพิจารณาลงสมัครเลือกตั้งในนามพรรคเพื่อไทยสมัยหน้า 1 คนให้ว่ากล่าวตักเตือนและคาดโทษไว้ ส่วนอีก 1 คนคือนายวุฒิชัย คณะกรรมการยังไม่สามารถพิจารณาบทลงโทษได้จนกว่านายวุฒิชัยจะออกจากโรงพยาบาล[11]

นอกจากนี้เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2564 ราชกิจจานุเบกษายังได้เผยแพร่พระบรมราชโองการ อาศัยอำนาจตามมาตราที่ 171 แห่งรัฐธรรมนูญไทยให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีสองคน คือ ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน[12] โดยก่อนหน้าที่ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระบรมราชโองการประมาณ 30 นาที ธรรมนัส ได้จัดแถลงข่าวด่วนที่รัฐสภาเพื่อยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมประกาศขอลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐในคราวเดียวกัน[13] และก่อนหน้านี้ 7 วัน คือวันที่ 2 กันยายน นายมงคลกิตติ์ สุขสินธรานนท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยศรีวิไลย์ ได้เผยแพร่ข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า "ข่าวว่า !!! นายกรัฐมนตรี เซ็นคำสั่งปลด ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรฯ แล้ว ถึงเวลาสงครามของผู้แทนประชาชน+ประชาชน แล้ว ลุงคนดี vs ประชาชน" จนทำให้เกิดกระแสว่าประยุทธ์ต้องการตัดไฟตั้งแต่ต้นลม หลังมีข่าวว่าธรรมนัสหวังใช้การอภิปรายไม่ไว้วางใจในการล้มประยุทธ์ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อเปิดทางให้ธรรมนัสขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป[14] แต่ข่าวนี้ถูกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมออกประกาศว่าเป็นข่าวปลอมในวันที่ 3 กันยายน[15] ทำให้กระแสสังคมซาลงจนกลับมาปะทุอีกครั้งเมื่อมีพระบรมราชโองการออกมาจริง และข้อความนี้ถูกผู้คนบนโลกออนไลน์ขนานนามว่า ข่าวปลอมที่กลายเป็นข่าวจริง[16]

ใกล้เคียง

การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย มีนาคม พ.ศ. 2554 การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย สิงหาคม–กันยายน พ.ศ. 2564 การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2565 การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2552 การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2553 การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2563 การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2555 การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2564

แหล่งที่มา

WikiPedia: การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย สิงหาคม–กันยายน พ.ศ. 2564 https://mgronline.com/factcheck/detail/96400000871... https://www.sanook.com/news/8437182/ https://www.sanook.com/news/8440846/ https://www.thansettakij.com/politics/493456 https://workpointtoday.com/politic-36/ https://workpointtoday.com/politics-91/ https://www.prachachat.net/politics/news-739389 https://www.prachachat.net/politics/news-750177 https://www.thaipost.net/main/detail/114637 https://www.thaipost.net/main/detail/115116